ความรู้ เพชรๆ พลอยๆ

ความแข็งของอัญมณีชนิดต่าง ๆ

            เมื่อพูดถึงเรื่องของคุณค่าและราคาของอัญมณีที่นิยมนำมาทำเป็นเครื่องประดับ ไม่ว่าจะเป็น สร้อย แหวน กำไล ซึ่งใช้เพื่อความสวยงามหรือบางคนอาจจะชอบซื้อเก็บไว้เป็นทรัพย์สินเพื่อไว้ขายต่อในอนาคตนั้น สิ่งที่ควรจะมีความรู้ติดตัวไว้ก็คือเรื่องของความแข็งนั่นเอง ซึ่งความแข็งนี้ถือเป็นองค์ประกอบหลักที่จะทำให้เครื่องประดับชิ้นนั้น ๆ มีราคาสูงหรือมีราคาต่ำก็เนื่องจากองค์ประกอบและคุณสมบัติข้อนี้เป็นสำคัญ

                ก่อนที่จะทราบว่าอัญมณีประเภทไหนมีความแข็งมากกว่ากัน ก่อนอื่นต้องทราบและมีความเข้าใจถึงความหมายของคำว่าความแข็งกันเสียก่อน ความแข็ง นั้นก็คือความทนต่อการขีดข่วนให้เป็นรอย ซึ่งในปัจจุบันได้มีมาตรฐานการวัดความแข็งของแร่ชนิดต่าง ๆ ได้โดยการใช้มาตรฐานการวัดของโมหส์ หรือที่เรียกว่า Moh’s Scale โดยมีมาตรฐานการวัดเริ่มจากหน่วย 10 ซึ่งเป็นหน่วยที่มีความแข็งแรงมากที่สุดไปจนถึง 1 ซึ่งเป็นหน่วยของความแข็งที่น้อยที่สุด และเมื่อเปรียบเทียบค่าความแข็งของอัญมณีประเภทต่าง ๆ ซึ่งเรียงลำดับจากประเภทที่มีความแข็งแรงที่สุดจาก 1 – 10 นั้น สามารถเรียงลำดับได้ดังนี้คือ เพชร ซึ่งที่มีความแข็งแรงที่สุด คือมีความแข็งในระดับ 10 รองลงมาที่ความแข็งระดับ 9 ก็คือคอรันดัมซึ่งก็มีพลอยซึ่งจัดเป็นกลุ่มของรัตนชาติได้แก่ทับทิมและแซฟไฟร์นั่นเอง ส่วนความแข็งในอันดับ 8 คือ โพแทส ซึ่งเป็นแร่ไม่ได้นำมาทำเป็นเครื่องประดับแต่เป็นแร่ที่นิยมนำไปใช้ในอุตสาหกรรมการเกษตรอย่างการผลิตปุ๋ยเป็นหลัก  ความแข็งระดับ 7 คือ ควอทซ์ หรือที่ภาษาไทยรู้จักกันในนามของแร่เขี้ยวหนุมาน ซึ่งเป็นแร่ที่ถูกขุดพบมากที่สุดเป็นอันดับ 2 ของโลก มีคุณสมบัติทั้งแบบโปร่งแสงไปจนถึงทึบแสง และมีสีสันมากมายหลากหลายสี ความแข็งระดับ 6 คือ ออร์โธเคลส ซึ่งนิยมนำไปใช้เป็นส่วนประกอบในอุตสาหกรรมเครื่องเคลือบ ความแข็งระดับ 5 คือ อะพาไนท์ ซึ่งเป็นแร่ที่มีลักษณะเป็นผลึกรูป 6 เหลี่ยมและพบได้ทั่วไปในแหล่งแร่ดีบุก ความแข็งระดับ 4 คือ ฟลูออไรท์ หรือที่เรียกว่าหินสี ความแข็งระดับ 3 คือ คาลไซต์ที่นิยมนำมาเป็นเครื่องประดับและหินมงคล ความแข็งระดับ 2 คือยิปซัม ซึ่งนอกจากจะนำมาใช้ในงานก่อสร้างแล้วยังนำมาใช้ออกแบบเป็นเครื่องประดับได้อีกด้วย และความแข็งน้อยที่สุดในระดับ 1 คือทัลค์ หรือที่เรียกกันว่าหินสบู่นั่นเอง

                นอกจากความแข็งแล้วยังมีคุณสมบัติเรื่องอื่น ๆ ที่เป็นตัววัดคุณภาพและราคาของเครื่องประดับเหล่านี้ ได้แก่ ความเหนียว ซึ่งหมายถึงความคงทนต่อการแตกหรือแยกออกเมื่อถูกความกดดัน รวมถึงความทนทาน ซึ่งหมายถึงความคงทนต่อสารเคมีที่มีผลทำให้โครงสร้างของแร่หรือเครื่องประดับเหล่านั้นชำรุดหรือแตกสลาย เช่น สารเคมีประเภทกรด แอลกอฮอล์ หรือสารเคมีที่เป็นส่วนผสมของน้ำหอม เป็นต้น 


  • “ทอง” ถือเป็นของมีค่ามากที่สุดในโลกปัจจุบันนี้ไปเสียแล้ว ทั้งใช้แลกเปลี่ยน ทั้งใช้เป็นสิ่งกำหนดค่าเงินของแต่ละประเทศ ถือได้ว่าเป็นเงินสากลไปแล้วก็ว่าได้ ตั้งแต่อดีตเมื่อนานมาแล้วทองก็ถือเป็นสิ่งที่ใช้บ่งบอกถึงฐานะ อำนาจ ความเป็นมงคลให้กับอารยะประเทศหลายประเทศ หรือหลายอาณาจักรที่ยกตนขึ้นเป็นผู้ครองผืนแผนดินแห่งใดแห่งหนึ่ง ในช่วงเวลาหนึ่ง ด้วยการนำไปทำเป็นสิ่งของเครื่องใช้ เฟอร์นิเจอร์ต่าง ๆ เพื่อให้ดูมีอำนาจบารมี ทั้งที่ทองก็เป็นเพียงแค่โลหะชนิดหนึ่ง เป็นธาตุเหมือน ๆ กับอีกร้อยกว่าธาตุในตารางธาตุซึ่งเป็นธาตุที่มนุษย์รู้จักทั้งหมดในขณะนี้ แต่อะไรทำให้ทองมีความพิเศษเหนือกว่าธาตุอื่น ๆ กันแน่
    นอกจากความเงางามของผิวทองแล้ว นักวิทยาศาสตร์เชื่อว่าสาเหตุที่ทำให้ทองกลายเป็นสิ่งที่มีค่าเนื่องมาจากคุณสมบัติพิเศษที่ไม่เหมือนธาตุอื่น ๆ ของทอง เริ่มกันตั้งแต่ความยืดหยุ่นหรือเหนียวมาก มากขนาดที่ว่าทอง 1 ออนซ์(28.35 กรัม)สามารถนำมายืดออกได้โดยไม่ขาดเลยได้ยาวมากกว่า 60 กิโลเมตรเลยทีเดียว หรืออีกคุณสมบัติหนึ่งก็คือสามารถนำทอง 1 ออนซ์เนี่ยมาแผ่เป็นแผ่นได้บางมาก ๆ บางแค่ไหนให้ลองนึกดูว่าเอา 1 เซนติเมตรมาแบ่งออกเป็น 762,000 ส่วนนั่นแหละคือความบางที่สามารถแผ่ออกได้โดยไม่ขาดเลย ความบางขนาดนี้ถ้าเอามาซ้อนกันประมาณ 380 แผ่นก็จะได้ทองคำเปลวเพียงแค่แผ่นเดียวเอง ซึ่งถ้าเป็นโลหะอื่น ๆ แทบจะทำไม่ได้เลย จึงเป็นคุณสมบัติที่เฉพาะตัวมาก ๆ เลยจริง ๆ สมบัติอีกอย่างหนึ่งก็คือทองไม่ค่อยเกิดปฏิกิริยากับอากาศ กับแก๊ส หรือกับกรด จึงทำให้ทองมีความคงทนถาวรสูงมาก สมบัติอื่น ๆ ก็มีอีกหลายอย่างคือ เป็นโลหะที่นำไฟฟ้าได้ดีที่สุดเป็นอันดับสองรองจากเงิน ในส่วนของซีพียูคอมพิวเตอร์ก็นำมาใช้เป็นตัวนำไฟฟ้า ซึ่งจะไม่ทำให้เกิดสนิมภายในซีพียูด้วย นำความร้อนได้ดีมาก เป็นอันดับสาม รองจากเงิน และทองแดง แต่ที่แน่ ๆ ก็คือเป็นของที่หายากมาก ๆ กว่าจะได้มาแต่ละออนซ์นั้นต้องใช้การถลุงแร่ที่มีทองคำติดอยู่เป็นจำนวนมากหลายตันทีเดียว
    โดยรวมแล้วก็คือเอกลักษณ์เฉพาะตัวของทอง ที่ทำให้ทองนั้นทรงคุณค่าควรแก่การกำหนดให้เป็นสิ่งที่มีมูลค่ามาตรฐานสากล ซึ่งผู้คนก็ต่างพากันขวนขวายหามาครอบครองกัน และในภายหลังเมื่อได้รับความนิยมกันมากขึ้นก็ทำให้การแปรสภาพหรือที่เรียกว่า ทองรูปพรรณได้มีการปรับเปลี่ยนรูปแบบให้น่าสนใจ สวยงามขึ้น จูงใจให้ผู้คนอยากเป็นเจ้าของกันมากขึ้นอีก ทำให้คุณค่าของทองถูกยกระดับให้มีค่าสูงขึ้นไปกว่าเดิมนอกเหนือไปจากสมบัติพิเศษของทองเอง


  • อัญมณีถือเป็นแร่ที่มีองค์ประกอบทางเคมีเป็นสารประกอบจำพวกอะลูมิเนียมกับออกซิเจนเรียกว่า อะลูมิเนียมออกไซด์(Al2O3) ซึ่งอะลูมิเนียมเป็นธาตุที่มีเป็นจำนวนมากในโลก แต่ของที่มีมากก็ไม่น่าจะมีมูลค่าสูงได้ นั่นแสดงว่าจะต้องมีปัจจัยอื่น ๆ ประกอบจึงจะทำให้หินสีเหล่านี้มีราคาแพงขึ้น ก่อนจะมาวิเคราะห์ว่าอัญมณีแต่ละชนิดนั้นเป็นอย่างไร คงต้องแบ่งประเภทกันให้ชัดเจนก่อน เมื่อยึดเอาองค์ประกอบเป็นหลักจะสามารถแบ่งออกได้เป็น 2 พวกคือ พลอย ซึ่งเป็นกลุ่มที่มีสารประกอบอะลูมิเนียมออกไซด์เช่น มรกต ทับทิม หยก บุษราคัม เป็นต้น กับเพชร ที่มีองค์ประกอบเป็นเพียงคาร์บอนเท่านั้น ในบทความนี้จะเน้นไปที่พลอยก่อน
    พลอยนั้นมีความแตกต่างจากหินอื่น ๆ ตรงที่มีความสวยงาม โดดเด่น ตามชนิดของพลอย หินสีเหล่านี้ถูกกาลเวลาทำให้เกิดการเปลี่ยนแปลงทางเคมีขึ้นทำให้สีของพลอยมีความแตกต่างกันไปตามองค์ประกอบที่แทรกรวมเข้าไปอยู่กับอะลูมิเนียมออกไซด์นั้น เมื่อกระบวนการเกิดต้องใช้เวลาและปัจจัยที่แตกต่างกันเช่นนี้จึงทำให้กลายเป็นหินที่มีลักษณะเฉพาะตัว หายาก ไม่เหมือนหินทั่ว ๆ ไป เป็นเหตุผลหนึ่งที่ทำให้มูลค่าของพลอยนั้นสูงกว่าหินชนิดอื่น ๆ และการเรียกชื่อพลอยนั้นก็จะเรียกชื่อต่างกันไปตามสีของพลอย เช่นมรกตสีเขียว ทับทิมสีแดง หยกสีเขียวเข้ม บุษราคัมมีสีเหลือง เป็นต้น สมบัติทางกายภาพของพลอยอย่างความแข็งนั้นพลอยแต่ละชนิดมีความแข็งไม่เท่ากัน ความเหนียวก็เช่นกันแต่ละชนิดก็มีความเหนียวไม่เท่ากัน ดังนั้นจึงไม่ใช่ปัจจัยหลักในการแบ่งชนิดของหินให้มีมูลค่าสูงขึ้น สิ่งที่ทำให้พลอยมีมูลค่าก็คือ ความเป็นลักษณะเฉพาะตัวของพลอยเอง องค์ประกอบที่ทำให้สีแตกต่างกันนั้นยิ่งสีของพลอยแต่ละชนิดมีความเข้มของสีมาก ก็จะบ่งบอกถึงลักษณะที่เป็นของแท้หรือไม่ ยิ่งเข้มมากก็ยิ่งมีราคาสูง โดยสีที่เป็นมาตรฐานนั้นก็มีการกำหนดกันตามชนิดของพลอยนั่นเอง เพียงแค่บอกว่าสีเขียว หรือสีเหลือง ไม่เพียงพอจะบอกได้ว่าเป็นของแท้หรือไม่ ต้องมีการทดสอบแบบอื่นประกอบด้วย
    เมื่อได้ทราบว่ามูลค่าของพลอยขึ้นอยู่ความที่เป็นของแท้หรือไม่แท้แล้ว ก็ต้องรู้จักวิธีการทดสอบว่าจะทราบได้อย่างไรว่าพลอยแต่ละชนิดเป็นของแท้หรือไม่ สมบัติที่แตกต่างกันก็คือคุณสมบัติทางแสงของพลอยเมื่อผ่านการเจียระไนแล้วจะมีการสะท้อนแสง วาวแสง ไม่เหมือนกับหินทั่ว ๆ ไป สมบัติเฉพาะอีกอย่างก็คือดัชนีหักเห ดัชนีหักเหคืออัตราส่วนของความเร็วของแสงในอากาศเทียบกับความเร็วของแสงในพลอยแต่ละชนิดนั้น สมบัตินี้ชี้วัดความแท้ไม่แท้ได้ค่อนข้างชัดเจน พลอยมีดัชนีหักเหอยู่ระหว่าง 1.2 – 2.6 โดยเครื่องมือที่ใช้วัดดัชนีหักเหเรียกว่ารีแฟลกโทรมิเตอร์(Refractometer) ทีนี้ราคาก็ขึ้นอยู่กับความต้องการของลูกค้าต่อแล้ว พลอยชนิดใดมีความต้องการมากก็จะถูกฉุดให้ราคาสูงขึ้นไปอีก สรุปได้ว่าสิ่งที่ทำให้พลอยมีราคาสูงก็คือ สมบัติเฉพาะตัวที่ต้องทดสอบก่อนว่าเป็นของแท้ และความต้องการของตลาดนั่นเอง


  • การเลือกซื้อ ทองคำ เป็นเรื่องที่ค่อนข้างละเอียดอ่อน และยังเป็นของที่มีราคาสูง จึงต้องมีความรอบคอบ ในการเลือกเพื่อไม่ให้เจอกับการถูกหลอกขายของปลอม เพราะการทำของออกมาลอกเลียนแบบให้เสมือนใส่เครื่องประดับของจริงมีมากขึ้นทุกวัน ที่เห็นปลอมกันมากที่สุดน่าจะเป็น ทอง เพราะเป็นที่นิยมใส่กันในคนทุกระดับ บางคนถึงขั้นซื้อเพื่อเก็บเอาไว้เก็งกำไร ในการขายต่อก็ยังมี อีกทั้งปลอมได้ง่ายและเหมือนมากที่สุด ในปัจจุบันนี้ทองมีราคาแพงมากกว่าแต่ก่อนค่อนข้างเยอะ แต่ในเมื่ออยากใส่แต่ไม่มีเงินซื้อบางทีก็ต้องซื้อของปลอมมาใส่เพราะราคาถูกกว่าหลายเท่าตัว นอกจากนี้แล้วยังมีชนิดอื่นอีกเช่นกันที่มีปัญหาในเรื่องการเลือกซื้อว่าได้ของแท้แน่นอนตามมาตรฐานหรือเปล่า
    ปัญหาในการถูกหลอก แลกเปลี่ยนหรือ ซื้อ-ขาย ทองคำ ทั้งทองคำแท่งและทองรูปพรรณนั้น เป็นปัญหาเพราะว่าการทำของลอกเลียนแบบสามารถทำได้และยังวางขายตามท้องตลาดได้ นั่นคือวิธีการทำทองชุบ หรือ ทองหุ้ม ซึ่งมีวิธีการต่างกัน ทองชุบคือ การนำเอาโลหะอย่าง ทองเหลือง ทองแดง หรือนิกเกิลมาชุบอณูทองเท่านั้นเอง จึงสามารถหลุดลอกได้เมื่อใช้ไปสักพัก ส่วนทองหุ้ม คือการนำแผ่นทองมาละลายเป็นน้ำทองแล้วนำโลหะไปแช่ให้อณูทองหุ้มโลหะและวิธีหุ้มนี้สามารถหุ้มได้หลายไมครอน ด้วยเหตุนี้จึงทำให้รู้ว่าถึงแม้ภายนอกจะเหมือนทองจริง ๆ แต่ว่าภายในนั้นยังไงก็เป็นโลหะอื่น และเนื้อแข็งกว่าทอง เนื่องจากทองเป็นแร่ธาตุที่มีความพิเศษและเนื้ออ่อนนุ่ม และยังไม่มีหลุดลอกทำให้มีวิธีการในการดูว่าเป็นของแท้หรือไม่อยู่หลายวิธี แต่ในความเป็นจริงถ้าหากคุณไปซื้อทองที่ร้านค้าบางวิธีคงไม่สามารถทำได้ แต่การเลือกร้านที่น่าไว้วางใจซึ่งได้รับอนุญาตถูกต้องก็เป็นหลักเบื้องต้นในการการันตีว่าไม่ถูกหลอกเพราะจะมีการชั่งน้ำหนักทุกครั้งที่มีการซื้อ-ขาย น้ำหนักทองทั่วโลก ต่อบาท เท่ากัน อยู่ที่ประมาณ 15.2 กรัม อีกทั้งยังมีตราของร้านรับประกันนั่นเอง แต่การเลือกซื้อจากคนรู้จัก เพื่อน หรือพ่อค้าแม่ค้าทั่วไปไม่ใช่ร้านทองก็ต้องทดสอบเช่น การกัดเพราะทองมีเนื้อนุ่มจะเห็นรอยบุ๋มชัดเจน หรือไม่ก็ ควรนำไปให้ร้านทองตรวจสอบให้เสียก่อน ดีที่สุด
    หมดความกังวลในการเลือกซื้อได้ในระดับหนึ่ง เมื่อคุณได้ทราบถึงวิธีการดูเบื้องต้น และได้รับการรับรองจากร้านทองชั้นนำว่าเป็นของแท้ สิ่งหนึ่งที่ช่วยไม่ให้ถูกหลอกซื้อและเสียเงินโดยใช่เหตุก็คือ ไม่หลงเชื่อคนง่าย เพราะคนที่นำมาขายถ้ามีความบริสุทธิ์ใจจริง ๆ ก็ต้องยินยอมในการตรวจสอบก่อนการตกลงจะซื้อจะขายแน่นอน แล้วคุณก็ไม่ต้องมานั่งเสียใจภายหลังที่จะต้องเสียรู้ เสียเงินไปกับการถูกหลอก ทองคำนั้นเป็นเครื่องประดับที่มีราคามาตรฐานทั่วโลกต่างกันเพียงเล็กน้อยเท่านั้นและราคาไม่ตกไม่ว่าจะผ่านไปนานกี่ปี จึงเป็นที่นิยมซื้อเพื่อเก็บรักษาไว้เป็นทรัพย์สินแทนเงิน



Visitors: 209,735